คณะผู้จัดทำ

คณะผู้จัดทำ

  1.   นางสาว   จันทรพิมพ์   สวนอินทร์  ม.4/1  เลขที่ 32

           2.   นางสาว  จริยา   นาพะพล   ม.4/1   เลขที่  13

           3.   นางสาว  สุพัตรา   แก่นท้าว   ม.4/1   เลขที่  25

           4.   นาย   ทินกร   แก่นท้าว   ม.4/1  เลขที่  4

           5.   นาย  วรวัฒน์   อินธิจักร  ม.4/1  เลขที่

สถานที่สำคัญ

  1.ที่ว่าการอำเภอเจริญศิลป์หัวหน้าส่วนราชการ  

นายวัฒนชัย สุวัณณะศรี นายอำเภอเจริญศิลป์
ที่ตั้ง   317 หมู่ 2 ตำบลเจริญศิลป์ อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร
หมายเลขโทรศัพท์   0-4270-9197

2.โรงพยาบาลเจริญศิลป์ที่ตั้ง  374 หมู่ที่ 2 บ้านเจริญศิลป์ ตำบลเจริญศิลป์ อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร
หมายเลขโทรศัพท์   0-4270-9148 – 50
ประเภท  รักษาโรคทั่วไป ขนาด 30 เตียง

3.สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเจริญศิลป์สาธารณสุขอำเภอเจริญศิลป์ นายสุพจน์ ไชยรบ ที่ตั้ง หมู่ที่ 2 บ้านเจริญศิลป์ ตำบลเจริญศิลป์ อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร
ประเภท รักษาโรคทั่วไป

 

4.สำนักงานเกษตรอำเภอเจริญศิลป์

กษตรอำเภอ เจริญศิลป์ นายวีระ ฤทธิมนตรี
ที่ตั้ง หมู่ที่ 2 ตำบลเจริญศิลป์ อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร
หมายเลขโทรศัพท์ 0-4270-9185
อำนาจหน้าที่รับผิดชอบ กำกับดูแลงานส่งเสริมด้านการเกษตร

 5.  เทศบาลตำบลเจริญศิลป์

 นายกเทศมนตรีตำบลเจริญศิลป์   นายสมาน  ศิลาแดง
ที่ตั้ง     444 หมู่ที่ 2 ตำบลเจริญศิลป์ อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร
หมายเลขโทรศัพท์    0-4270-9147
เขตรับผิดชอบ   4 หมู่บ้าน คือ บ้านเจริญศิลป์ หมู่ที่ 1,2 ต.เจริญศิลป์ , บ้านดงน้อย
                        หมู่ที่ 3 ต.ทุ่งแก , บ้านทุ่งมน หมู่ที่ 7 ต.ทุ่งแก
ประวัติ  เทศบาลตำบลเจริญศิลป์ จัดตั้งเมื่อ วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล
เจริญศิลป์ อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 600 กิโลเมตร
ห่างจากจังหวัดสกลนคร 110 กิโลเมตร

 6. ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเจริญศิลป์

หัวหน้าหน่วยราชการ   นายสมบูรณ์ มีระหงส์
ที่ตั้ง   ม.2 ตำบลเจริญศิลป์ อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร
โทร.   0-4270-9211

 

 7. วัดศิริราษฎร์วัฒนา

 

 8. วัดใหม่เจริญศิลป์

 

9. วัดภูหินกอง

 

10. โรงเรียนอนุบาลเจริญศิลป์

ที่ตั้ง โรงเรียนบ้านอนุบาลเจริญศิลป์  ตั้งอยู่ที่  บ้านเจริญศิลป์  หมู่ที่ 2  ต.เจริญศิลป์   อ.เจริญศิลป์      จ. สกลนคร   รหัสไปรษณีย์ 47290   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร  เขต 3  หมายเลขโทรศัพท์  0-4270-9177  หมายเลขโทรสาร  0-4270-9177

11. โรงเรียนเจริญศิลป์ศึกษา “โพธิ์คำอนุสรณ์”

 

 

อาณาเขตติดต่อ

อาณาเขตติดต่อ
– ทิศเหนือ ติดกับบ้านกุดนาขาม ตำบลเจริญศิลป์
– ทิศตะวันออก ติดกับบ้านทุ่งคำ ตำบลเจริญศิลป์
– ทิศใต้ ติดกับบ้านหนองจาน ตำบลทุ่งแก
– ทิศตะวันตก ติดกับบ้านหนองแสง ตำบลเจริญศิลป์

ประวัติบ้านเจริญศิลป์

ประวัติความเป็นมา

        เมื่อ พ.ศ.2472 นายลอย คำภูแสน (ปู่ลอย) เดิมเป็นคนบ้านงิ้ว ตำบลปลาโหล
อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ได้ย้ายมาตั้งหมู่บ้านบริเวณใกล้ ๆ หนองทุ่งมน ชื่อ “บ้านหัวทุ่ง” (เจริญศิลป์) เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นหนองน้ำที่อุดมสมบูรณ์มาก ต่อมานายอุ่น โพธิ์คำ พร้อมครอบครัว (ต้นตระกูล”โพธิ์คำ”) ได้ย้ายมาจากบ้านตาลโกน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร นายสร้อย วงศ์ประทุม พร้อมครอบครัวได้ย้ายมาอีกเรื่อย ๆ ดังนั้นหมู่บ้านจึงได้ขยายเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง นายลอย คำภูแสน มีลูกที่เป็นนักพัฒนาอยู่ 2 คน คือ นายสนั่น กับนายจรัส โดยนายสนั่นได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านได้ 3 ปี ก็ลาออก และนายจรัส ก็ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านและเป็นกำนันในเวลาต่อมา ( พ.ศ.2495 – 2515 ) ( เดิมขึ้นกับตำบลทุ่งแก ) นายจรัสพร้อมชาวบ้านได้ร่วมกันจัดทำผังของบ้านเจริญศิลป์จนมีผังที่ดี เป็นระเบียบสวยงาม อย่างที่เห็นอยู่ทุกวันนี้
เมื่อชุมชนเติบโตขึ้น ก็มีปัญหาเรื่องน้ำดื่มน้ำใช้ในหน้าแล้งเนื่องจากหนองทุ่งมนแห้งขอด นายจรัสจึงได้ระดมกำลังชาวบ้านขุดทำคันดินกั้นน้ำเชื่อมต่อกับบ้านหัวทุ่ง (เจริญศิลป์) กับบ้านทุ่งมน และใช้เป็นเส้นทางติดต่อกันได้น้ำที่เคยอดอยากในหน้าแล้งก็พอทุเลาเบาบางลง จากนั้นได้มีการเสริมแต่งคันดินหลายครั้ง จนในปี พ.ศ.2520กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้อนุมัติเงินทำคันดินรอบหนองทุ่งมนระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตรแต่ยังไม่สามารถกักเก็บน้ำได้มากนักเนื่องจากหนองน้ำตื้นเขินมาก จนกระทั่งได้มีโครงการพระราชดำริในการ
ขุดลอกหนองให้ลึกพร้อมเสริมคันกั้นน้ำโดยรอบ โดยดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ.2534 งบประมาณ 55,000,000 บาท จนมีน้ำเพียงพอแก่การอุปโภคบริโภค การเกษตร ตลอดจนการท่องเที่ยวอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
       เมื่อ พ.ศ.2497 ชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างโรงเรียน โดยทางราชการให้ทุนสมทบ 41,000 บาท “โรงเรียนทุ่งมน (ทุ่งมนสมานมิตร) ” ต่อมาพระอาจารย์คำมี (ท่านพระครูศรีภูมานุรักษ์) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศิริราษฎร์  ในขณะนั้น เห็นว่าชื่อบ้านหัวทุ่ง ไม่เหมาะสมกับคนในหมู่บ้าน ซึ่งมีการปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ อยู่เสมอ จึงเปลี่ยน ชื่อใหม่ว่า “บ้านเจริญศิลป์” ส่วนชื่อโรงเรียนได้รับการเปลี่ยนอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2510 ว่า “โรงเรียนเจริญศิลป์วิทยา”
       ในปี พ.ศ.2520 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดสรรงบประมาณจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาขึ้น โดยนางจันทร์เพ็ญ โพธิ์คำ ได้มอบที่ดินให้เป็นที่ก่อสร้างและได้ตั้งชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนเจริญศิลป์ศึกษา (โพธิ์คำอนุสรณ์)

ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2531 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งกิ่งอำเภอเจริญศิลป์ ขึ้น มีนายประยุทธ รัชตะวรรณ เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอคนแรก และได้มีพระราชกฤษฎีกาตั้งเป็นอำเภอเจริญศิลป์ เมื่อปี พ.ศ.2537 โดยมี นายกำธร ตุ้งสวัสดิ์ เป็นนายอำเภอคนแรก  และ นายวีระวัฒน์ วิกสิต เป็นนายอำเภอคนปัจจุบัน (ตั้งแต่ 6 ตุลาคม 2546)

การใช้สมุนไพรเป็นเครื่องสำอาง

งา (Sesamum indicum Linn. S. orientle. L)
เป็นพืชล้มลุก ให้เมล็ดเป็นจำนวนมาก เมล็ดงามีทั้งสีดำ และสีขาว ในเมล็ดงามีน้ำมันอยู่ ประมาณ 45-54% น้ำมันงามีกลิ่นหอมน่ารับประทาน วิธีใช้ โดยการนำเอาเมล็ดงาสด มาบีบน้ำมันงาออก โดยไม่ผ่านความร้อน ใช้ทาผิวหนัง เพื่อบำรุงผิวพรรณ ให้ผุดผ่อง ช่วนประทินผิวให้นุ่มนวล ไม่หยาบกร้าน

สมุนไพรใช้ปรุงเป็นยาฆ่าแมลง

สมุนไพรไล่แมลง เป็นพืชที่มีส่วนต่าง ๆ เช่น ใบ ราก เปลือก ดอก ผล ที่มีสารออกฤทธิ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช จะมีผลกระทบต่อระบบประสาท และระบบหายใจ ทำให้แมลงตายทันที จะมีผลต่อระบบอื่น ๆ โดยการไปยับยั้งการกินอาหาร การลอกคราบ การเจริญเติบโตของแมลง

สมุนไพรเป็นพืชเศรษฐกิจ

สมุนไพรที่เป็นพืชเศรษฐกิจในประเทศไทยนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นอาหารและนำมาใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคในหัวข้อนี้ ขอยกรายชื่อมาให้ทราบพอสังเขป ดังนี้
กระเจี๊ยบแดง???????? จันทนา??? ??? บอระเพ็ด
กระชาย?????????????? ไพล???????????? สะค้าน
เจตมูลเพลิงแดง??? พญายอ???????? พริกไทย
ดีปลี?????????????????? ขิง??????????????? พลูคาว
ช้าพลู???????????????? กระวาน????????? กฤษณา

การปลูกสมุนไพรเพื่อเป็นไม้ประดับ

ดอกชมจันทร์ อาจเรียกว่าดอกบานดึก พืชสกุลนี้มีประมาณ 650 ชนิด ซึ่งมีมากที่สุดในวงศ์ หลายชนิดเป็นไม้ประดับที่รู้จักกันดีคือมอร์นิ่งกลอรี่หรือผักบุ้งฝรั่ง และบางชนิดสามารถรับประทานได้ ที่รู้จักกันดี เช่น ผักบุ้ง และมันเทศ เป็นต้น นอกจากนี้บางชนิดในต่างประเทศใช้เป็นยาสมุนไพร ดอกชมจันทร์ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด อาจปลูกโดยการหยอดเมล็ดลงแปลงโดยตรง หรือเพาะเป็นต้นกล้า ก่อนเพาะนำเมล็ดมาแช่ด้วยน้ำนาน 12 ชั่วโมง เพื่อให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัว จะทำให้งอกได้เร็วขึ้น เนื่องจากเมล็ดดอกชมจันทร์มีเปลือกหุ้มเมล็ดที่แข็ง เมล็ดงอกใช้เวลาประมาณ 7-14 วัน เมื่อต้นกล้าอายุ 30 วัน สามารถปลูกลงแปลงได้ นอกจากการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดแล้วต้นดอกชมจันทร์ยังสามารถขยาย พันธุ์โดยการปักชำส่วนของลำต้น ต้นดอกชมจันทร์สามารถขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิดที่มีความร่วนซุย พื้นที่ปลูกต้องระบายน้ำได้ดี เจริญเติบโตได้ในสภาพกลางแจ้งที่มีแสงแดด แปลงปลูกอาจจะยกแปลงขึ้นคล้ายกับแปลงผักทั่วไปเพื่อป้องกันน้ำขัง

การอนุรักษ์สมุนไพร

การเก็บรักษาสมุนไพร

การเก็บรักษาพืชสมุนไพรเอาไว้เป็นระยะเวลานาน มักจะเกิดการขึ้นรา
หรือเกิดมีหนอน เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะของสี กลิ่น
ทำให้ยาสมุนไพรเสื่อมคุณภาพลงได้ ทำให้ไม่ออกฤทธิ์
ในการบำบัดรักษาโรคได้ เกิดการสูญเสียฤทธิ์ของยาไปเลย ด้วยเหตุนี้เอง
จะต้องมีการเก็บรักษา ที่ดีเพื่อประกันคุณภาพและฤทธิ์การรักษาของยาสมุนไพร

ประโยชน์และสรรพคุณของสมุนไพร

ผู้จัดทำ

1.  น.ส.  จันทรพิมพ์   สวนอินทร์

2.  น.ส.  ภาวิณี     ทองลอง

ครูผู้สอน   อาจารย์   วรวิทย์   ไชยวงศ์คต

โรงเรียนเจริญศิลป์ศึกษา”โพธิ์คำอนุสรณ์”

Previous Older Entries